โพแทสเซียม คืออะไร อันตรายไหม

Last updated: 17 ม.ค. 2567  |  867 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โพแทสเซียม คืออะไร อันตรายไหม

โพแทสเซียม

เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ และช่วยรักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย ความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ซึ่งผู้ที่เป็นโรคไต ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง จึงทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด

Hyperkalemia หรือโพแทสเซียมในเลือดสูง คือภาวะที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูง สาเหตุมักเกิดจากการทำงานของไตที่ผิดปกติ ส่งผลให้ไตไม่สามารถกำจัดโพแทสเซียมที่ร่างกายไม่ต้องการได้ จึงมีการสะสมของโพแทสเซียม และส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะไม่สามารถสูดฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ หากมีในปริมาณสูงมากอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของไตและหัวใจจึงเป็นอันตรายต่อชีวิต

ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไต หรือมีความผิดปกติของไตไม่ควรทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง การเลือกทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ ควรทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคลั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้ปกติ ลดภาวะบวมน้ำ

อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง (กล่มผักสีเข้ม) ควรหลีกเลี่ยง

          ได้แก่ ถั่ว นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน ลำไย กล้วย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกพรุน ลูกเกด มะเขือเทศ แครอท คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

อาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง

          ได้แก่ ฝรั่ง แอปเปิล สับปะรด เงาะ ส้ม ลิ้นจี่ องุ่น ส้มโอ แคนตาลูป พริกหวาน เป็นต้น

อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ สามารถทานได้ แต่ไม่ควรทานในปริมาณมากๆ

          ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง กะหล่ำปลี แตงกวา เป็นต้น

อาการของภาวะโพแทสเซียมลดลงต่ำทำให้เกิดอาการเหล่านี้

-          ท้องผูก

-          อ่อนล้า หน้ามืด เป็นลม

-          กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดเกร็ง สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

-          เหน็บชา

-          ภาวะลำไส้อืด

-          ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

โพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์ ซึ่งควรทานในปริมาณที่พอดี ไม่ทานมากเกินไป หรือไม่ทานเลย อย่างไรก็ตาม ควรควบคู่กับการออกกำลังกาย ดื่มน้ำ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและหลากหลาย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้