Last updated: 17 ม.ค. 2567 | 921 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคไตจะมีด้วยกัน 5 ระยะ
ระยะที่ 1 มากกว่าหรือเท่ากับ 90%
ค่า eGFR มากกว่า 90% อยู่ในระดับปกติ
ระยะที่ 2 60-89%
ค่า eGFR ช่วงระยะ 60-89% เริ่มประเมินและชะลอการเสื่อมของไต
ระยะที่ 3 30-59%
ค่า eGFR ช่วงระยะ 30-59% เพิ่มการดูแลภาวะแทรกซ้อนของไต และต้องระวังในเรื่องของโรคหัวใจที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อน
ระยะที่ 4 น้อยกว่า 30%
ค่า eGFR น้อยกว่า 30% ปรึกษาการทำบำบัดทดแทนไต การฟอกไตไม่ว่าจะฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม การฟอกไตทางหน้าท้อง หรือการปลูกถ่ายไต
ระยะที่ 5 น้อยกว่า 15%
ค่า eGFR น้อยกว่า 15% แพทย์จะเริ่มบำบัดทดแทนไต ตามที่ได้ปรึกษากันแล้วก่อนหน้านี้
ไตวายเฉียบพลันกับไตวายเรื้อรังต่างกันอย่างไร
ไตวายเฉียบพลัน (เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ภายในไม่กี่วัน)
ไตวายเรื้อรัง (ภาวะที่ไตทำงานลดลงมาเป็นระยะเวลาหลายเดือนขึ้นไป)
โดยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ไตจะไม่สามารถขับของเสียได้ผู้ป่วยมักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการ
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ
ขอแนะนำผู้ที่เป็นโรคไตดังนี้คือ ไม่ทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารรสเค็มและงดการปรุงรสด้วยซอสต่าง ๆ ลดการทานขนมปัง เค้ก คุกกี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผักสีเขียวเข้มต่าง ๆ กล้วย มันฝรั่ง มะเขือเทศ ฟอสฟอรัสสูงเช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ควรลดหรืองดยาสมุนไพร ยาแก้ปวด เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อโรคไต ในขณะเดียวกันก็ควรทานอาหารเสริมที่มีประโยชน์กับไต หากปฏิบัติได้ดังนี้ก็จะเป็นวิธีการชะลอการเสื่อมของไตได้ดี ช่วยยืดเวลาการทำงานของไตให้ยาวออกไป
18 ธ.ค. 2566
15 พ.ย. 2566
22 ธ.ค. 2566
19 ธ.ค. 2566